ข่าวสาร

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อ Multimedia



ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
           สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan. 1993)
           สื่อมัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพกราฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้คีย์บอร์ด (Key board) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) (Hall. 1996)
           ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของสื่อมัลติมีเดียได้ว่า สื่อมัลติมีเดีย คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้ สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


บทบาทของสื่อมัลติมีเดีย
             ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เอื้อให้นักออกแบบสื่อมัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อประเภทต่างๆ มาใช้ร่วมกันได้บนระบบคอมพิวเตอร์ และประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ตัวอย่างสื่อเหล่านี้ ได้แก่ เสียง วีดิทัศน์ กราฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ การนำสื่อเหล่านี้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรารวมเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาระบบมัลติมีเดียมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ จนถึงขั้นที่ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้เมาส์ การสัมผัสจอภาพ และการใช้เสียง เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดเล็กลง แต่มีความจุมากขึ้น และมีสมรรถนะในการเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น
           นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญๆ เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner) เครื่องบันทึกภาพและเสียงระบบดิจิทัล เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) และอื่นๆ ซึ่งล้วนสนับสนุนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้โปรแกรม แนวคิดใหม่ในการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางแนวคิดเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ขัดข้องที่ไม่สามารถนำเสนอด้วยสื่อรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ได้ บางแนวคิดเกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาด้านศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เทคนิควิธีการออกแบบดังกล่าวทำให้เกิดคำศัพท์ที่มีคำนิยาม และความหมายที่หลากหลาย เช่น คำว่า มัลติมีเดีย มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia) ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) และไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)

ประโยชน์ของมัลติมีเดีย
1. ด้านการเรียนการสอน ส่งผลให้เกิดระบบห้องสมุดแบบดิจิตอล (Digital Library) การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) การสร้างห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom) และการเรียนการสอนแบบกระจาย อันส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
2. ด้านธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า E-Commerce อันจะช่วยให้การนำเสนอสินค้า มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
3. การสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ต้องอาศัยสื่อเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ จึงมีความสัมพันธ์กับ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม อย่างแยกกันได้ยากมาก
4. ธุรกิจการพิมพ์ นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อันจะส่งผลให้หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น และปัจจุบันก็มี E-Magazine หรือ E-Book ออกมาอย่างแพร่หลาย
5. ธุรกิจการให้บริการข้อมูลข่าวสาร เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาช่วย จะทำให้ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ออกไป มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
6. ธุรกิจโฆษณา และการตลาด แน่นอนว่ามีความสัมพันธ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันจะช่วยดึงดูดคนเข้ามาชม ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความแปลกใหม่
7. การแพทย์และสาธารณสุข ปัจจุบันมีการสร้างสื่อเรียนรู้ด้านการแพทย์ ช่วยให้ประชาชนทั่วไป มีความสนใจศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแล รักษาสุขภาพตนเอง
8. นันทนาการ นับเป็นบทบาทที่สำคัญมาก ทั้งในรูปของเกม การเรียนรู้ และ VR เป็นต้น

ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย
    1.การกำหนดหัวเรื่อง
    2.เป้าหมาย
    3.วัตถุประสงค์
    4.กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้
    5.การวิเคราะห์ (Analysis)
    6.การออกแบบ (Design)
    7.การพัฒนา (Development)
    8.การสร้าง (Implementation)
    9.การประเมินผล (Evaluation)
    10.นำออกเผยแพร่ (Publication)
ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อมัลติมีเดียได้ ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย (สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้

1. ขั้นการเตรียม (Preparation)
                    - กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives) ต้องทราบว่าศึกษาในเรื่องใดและลักษณะใด เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน
                    - รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
                    - เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ แบบสร้างสถานการณ์จำลอง                  
                    - การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development) คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษวาดสตอรี่บอร์ดสื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
                   - สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอาคอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน
                   - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือหรือ
เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพได้
                    - สร้างความคิด (Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง
การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก

2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด
                    - ทอนความคิด (Elimination of Ideas)
                    - วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis)
                    - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description)
                    - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design)

 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย

4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson)
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ

6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials)
เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติดตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก

7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)
บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ
           การนำเสนอ  หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่า การพรีเซ้นท์  (Presentation)  เป็นการบรรยาย  หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้  อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร  ตัวอย่างง่ายๆ  ได้แก่  การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน  การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก  เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา  นำภาพมาประกอบ  นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์  (หรือเขียนบนแผ่นใส)  และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วย สิ่งที่เป็นปัญหาและเกิดขึ้นบ่อยมากคือ  การแก้ไข  หากต้องการแก้ข้อความ  เปลี่ยนรูป  เราต้องหาน้ำยาลบข้อความ  หรือบางครั้งสีปากกาไม่ตรงกับสีที่มีอยู่ในสไลด์เดิม  หรือหากมีการเปลี่ยนลำดับการนำเสนอ  ก็ต้องไปตามแก้เสียงประกอบที่อัดไว้  และยังมีปัญหาอื่นๆ
เมื่อมาสู่ยุคดิจิตอล  ยุคที่มือถือเป็นที่นิยมของทั้งเด็กและผู้ใหญ่  คอมพิวเตอร์มีบทบาทช่วยในการจัดเตรียมงานนำเสนอ  ไม่ต้องวุ่นวายกับการตกแต่งสไลด์และเรื่องจุกจิกของเครื่องฉายสไลด์อีกต่อไป  เพราะคอมพิวเตอร์สามารถสร้างงานนำเสนอแบบเบ็ดเสร็จในเวลาไม่นานนัก
ต่างจากการเตรียมงานนำเสนอแบบเดิมอาจต้องใช้เวลาเป็นวันๆ เราสามารถต่อทีวีหรือจอภาพขนาดใหญ่  โดยที่ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมากนัก  เพียงนำสายจากคอมพิวเตอร์ต่อเข้าทีวีจอยักษ์  ผู้ฟังเป็นร้อยก็สามารถเห็นงานนำเสนอได้ชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน  ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่งก็คือ  เราสามารถใช้ระบบมัลติมีเดียที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์มาช่วยเพิ่มสีสันในงานนำเสนอของเราได้  อาทิเช่น  สั่งให้เปิดเพลงแดนซ์  เปิดภาพยนตร์ประกอบการบรรยาย  หรือสั่งให้ตัวอักษรวิ่งวนไปมาพร้อมเสียงดังกระหึ่ม  สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดมหาศาลที่ทำให้ผู้ฟังตราตรึงกับงานนำเสนอได้อย่างมาก
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
          - ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
          - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
          - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
          - ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
          - อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
          - เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
          - โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้จักกับโปรแกรม Lecture Maker



รู้จักกับโปรแกรม Lecture Maker
โปรแกรม LectureMAKER เป็นโปรแกรมที่อยู่ในกลุ่มของโปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อันดับ 1 ของประเทศเกาหลีซึ่งช่วยให้คุณสามารถสร้างสื่อมัลติมีเดียได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย ราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน E-Learning ด้วยคุณสมบัติ อันโดดเด่นของโปรแกรมจะทำให้คุณติดใจในการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมนี้
โดยใช้แนวคิดที่ว่า “ผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้เอง” (UCC – User Created Content) เพื่อที่จะช่วยให้ใครก็ตาม ที่ต้องการจะสร้างสื่อ e-Learning สามารถที่จะสร้างสื่อดังกล่าว ได้อย่างง่ายดาย และ รวดเร็วผู้ใช้งานสามารถนํา เอาส่วนของการออกแบบ (Design), เลย์เอาต์ของเนื้อหา (Layout) รวมกันกับฟังก์ชั่นที่มีอยู่ใน โปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างสื่อ  e-Learning  ที่เน้นในรูปแบบการบรรยาย (Lecture)ในลักษณะมัลติมีเดีย หรือการนําเสนอเนื้อหา (Presentation)  โปรแกรมมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง สําหรับรองรับไฟล์มัลติมีเดียมากมาย เช่น ไฟล์ PowerPoint, ไฟล์ Flash, ไฟล์เอกสาร HTML รวมถึงการบันทึกไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ ด้วยตนเอง

Lecture Maker Concept
  1.สร้างเนื้อหาได้เอง (UCC: User Created Content)
  2.สร้างสื่อได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว
  3.สร้างสื่อ e-Learning ที่เน้นรูปแบบการบรรยาย (Lecture)
  4.สร้างสื่อมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพ

ข้อดีของโปรแกรม (Program Advantages)
1.สามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย และรวดเร็ว
2.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสอนด้วยเครื่องมือสร้างสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดีย
3.สามารถประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งสื่อการเรียนรู้เดิมในรูปแบบของไฟล์ต่างๆ เช่น Sound, Video, Animation, PowerPoint, Html เป็นต้น ผลิตเป็นสื่อการเรียนออนไลน์ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย
4.สามารถสร้างและแก้ไขสื่อมัลติมีเดียในรูปของเสียง วีดีโอ รูปภาพได้ด้วยเอง
5.สามารถสร้างสื่อที่มีลักษณะปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน ทำให้สื่อมีความน่าสนใจมากขึ้น
6.สามารถนำสื่อที่ผลิตขึ้นด้วยตนเอง ไปใช้งานในห้องเรียนหรือทำเป็นบทเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          7.ในระบบจัดการเรียนรู้ หรือเว็บไซต์ สื่อที่ผลิตขึ้นจะถูกนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียน
8.สื่อที่ได้สามารถนำไปปรับปรุง แก้ไข พัฒนาต่อ ให้มีความสมบูรณ์ต่อไปได้
คุณสมบัติเด่นของโปรแกรม


1. Electronic Board สามารถทำการบันทึกเสียงหรือการบันทึกวิดีโอ ช่วยให้รูปแบบการบรรยาย (Lecture) นั้นมีความน่าสนใจ มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น



2. Reuse of Source files สามารถนำเอาข้อมูลจากไฟล์ PowerPoint, Flash, HTML, Video, Sound เป็นต้น เข้ามาใช้งานในโปรแกรม

 

3. Frame Synchronization สามารถทำการควบคุม Video File กับ PowerPoint File เข้าด้วยกันได้ง่ายด้วยการทำ Synchronization ซึ่งจะช่วยให้การเรียน การสอนผ่านทางสื่อนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



4. File Property กำหนดคุณสมบัติของไฟล์ข้อมูลได้ว่าสื่อที่ผลิตขึ้นใครเป็นผู้ผลิต ภายใต้องค์กรใด และสามารถกำหนดลิขสิทธ์ในการเผยแพร่ไฟล์สื่อที่ผลิตขึ้น



5. Interactive Functions สร้างแบบปฎิสัมพันธ์ (Interactive) หรือปุ่มโต้ตอบที่สามารถทำงานได้ทั้งควบคุมการทำงานของเฟรม และ การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์หรือไฟล์ต่างๆ



6. Mathematic Functions สามารถทำงานด้วยฟังก์ชันพิเศษทางคณิตศาสตร์ อาทิเช่น ข้อมูลในรูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลในรูปแบบแผนภาพ และข้อมูลในรูปแบบกราฟ



7. Hyperlink สร้างการเชื่อมโยงได้ภายในไฟล์ข้อมูลเดียวกันไปเฟรมอื่นๆ หรือจะเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ให้แสดงผลภายในเฟรม



8. Template and Design มี Template และ Layout Design มากมายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสื่อที่จะสร้างอย่างสวยงาม ทำให้การสร้างสื่อทำได้อย่างง่ายดาย และสะดวกรวดเร็ว
         



          ตัวช่วยการออกแบบเกี่ยวกับสไลด์ 
                   LectureMAKER มีตัวช่วยสร้างการออกแบบเกี่ยวกับสไลด์ดังนี้


            สร้างสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
                   LectureMAKER สามารถสร้างสื่อวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ดังภาพ


            สร้างสื่อปฏิสัมพันธ์
                  LectureMAKER มีฟังก์ชันการสร้างสื่อปฎิสัมพันธ์ที่โปรแกรม มีมาให้รวม ถึงสามารถสร้างปุ่มเมนูต่างๆ
         ได้ด้วยตนเอง

            สร้างสื่อมัลติมีเดียได้ด้วยตนเอง  รวมทั้งสร้างกระดานอิเล็กทรอนิกส์
                   LectureMAKER มีฟังก์ชันการสร้างสื่อมัลติมีเดีย โดยสามารถบันทึกวีดีโอ เสียง หรือจะเป็นการบันทึก
                   การบรรยายเพื่อสร้างกระดานอิเล็กทรอนิกส์
           รองรับไฟล์ได้หลายรูปแบบ ทั้งไฟล์เอกสาร และไฟล์มัลติมีเดีย
                   LectureMAKER มีฟังก์ชันการสร้างสื่อมัลติมีเดีย โดยสามารถบันทึกวีดีโอเสียง หรือจะเป็นการบันทึก
                   การบรรยายเพื่อสร้างกระดานอิเล็กทรอนิกส์


   Image files        »
.bmp, .jpg, .gif, .png, .wmf, .emf
   Video files         »
.avi, .wmv, .asf, .mpg, .mp4
   Sound files        »
.wav, .wma, .mp3, .mid
   Flash files          »
.swf
           สื่อการเรียนรู้ที่ได้ 
                  โปรแกรม LectureMAKER สามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น ไฟล์เว็บเพจ, ไฟล์ *.exe
           เพื่อนำสื่อมาบันทึกในรูปแบบซีดี, ไฟล์ในรูปแบบ SCORM Package


           กระดานอิเล็กทรอนิกส์ 
                   บันทึกการบรรยายรูปแบบกระดานอิเล็กทรอนิกส์
           สไลด์ซิงโครไนเซชัน 
                   ทำซิงโครไนเซชันระหว่างสไลด์และไฟล์วีดีโอ

สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.lecturemaker.net/

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

การติดตั้งโปรแกรม Lecture Maker



การติดตั้งโปรแกรม Lecture Maker
          การติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ท่านก็สามารถติดตั้งโปรแกรมใช้งานได้ด้วยตนเอง

ก่อนการติดตั้ง

1. ในขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม  LectureMAKER นั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้งาน แผ่น CD ต้นฉบับของโปรแกรมและรหัสสําหรับการติดตั้ง (Serial Key) ดังนั้น ควรจะเก็บแผ่น CD และข้อมูลดังกล่าวไว้ในที่ที่ปลอดภัย และเพื่อให้การใช้งานโปรแกรม LectureMAKER ไม่มี ปัญหากรุณาติดตั้งโปรแกรม Windows Media Encoder 9.0 และ Windows Media Player 9.0 ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน


ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ 

http://www.lecturemaker.net/supportdownload.html

เป็นเวอร์ชั่นทดลองใช้ 30 วัน


ขั้นตอนการติดตั้ง

1. ทําการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ใส่แผ่น CD  ของโปรแกรม  LectureMAKER  ไปยัง CD-ROM Drive จากนั้นทําตาม ขั้นตอนนี้เลือกไปที่ My Computer -> เลือก CD ROM Drive -> คลิกเลือกไฟล์ LectureMAKER English Setup.exe    



3. หน้าต่าง  Install Shield Wizard  จะแสดงขึ้นมาเพื่อเตรียมความพร้อม สําหรับการติดตั้ง โปรแกรม Lecture MAKER จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Next    


4. เลือกโฟลเดอร์ (Folder) ที่ต้องการจะติดตั้งโปรแกรม LectureMAKER จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม Next       



5. คลิกที่ปุ่ม Install เพื่อทําการติดตั้ง         


6. จากนั้นโปรแกรม  LectureMAKER  จะเริ่มติดตั้ง โดยจะมีแถบสถานะ (Status bar) แสดงให้เห็นถึงสถานะของการติดตั้งโปรแกรม             


7. เมื่อขั้นตอนการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะพบข้อความปรากฏอยู่ในหน้าต่างดังรูปข้างล่าง จากนั้นให้ คลิกที่ปุ่ม Finish  


8. เรียกโปรแกรม LectureMAKER ขึ้นมาใช้งาน          
คลิกเมนู Start > Program>DaulSoft>LectureMAKER2.0>LectureMAKER


9. รูปภาพที่เห็นข้างล่างนี้ คือหน้าตาของโปรแกรม    LectureMAKER ที่เปิดขึ้นมาใช้งาน ใส่ Product Key ของโปรแกรมแล้วคลิกที่ปุ่ม Submit


ท่านที่ไม่มี Key โปรแกรม ท่านสามารถใช้เวอร์ชั่น ฟรี 30 วันได้    เท่านี้โปรแกรมก็พร้อมที่จะใช้งานได้ เรามาเริ่มสร้าง สื่อมัลติมีเดียกันเลย